วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

วันออกพรรษา




วันออกพรรษา

วันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น 15 คำเดือน 11 หรือราวเดือนตุลาคม เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ร่วมกันในวัดหรืถานที่ที่เข้าพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือนในวันนี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีสังฆฏรรม ซึ่งเรียกว่า วันมหาปวารณา คือ เป็นวันที่พระภิกษุทุกรูปจะอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในรื่องราวเกี่ยวกับความประพฤติต่างๆ นับตั้งแต่พระเถระ ได้แก่ พระภิกษุผู้มีอาวุโสสูงลงมา จะสามารถว่ากล่าวตักเตือนกันหรือเปิดโอกาสให้วักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกัน

การทำมหาปวารณา เป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่งแทนการสวดปาติโมกข์(พระวินัย) ที่ได้กระทำกันทก 15 วันในช่วงเข้าพรรษา

การประกอบพิธีในวันออกพรรษา

การประกอบพิธีสำคัญในวันนี้ เหล่าชาวพุทธจะนิยมทำบูญกุศลเป็นกรณีพิเศษ เช่น ตักบาตรในตอนเช้า ถวายสังฆทาน ไปทำบุญที่วัด ถวายภัตตาหาร ฟังพระธรรมเทศนา และมีการตักบาตรเทโวในวันรุ่งขึ้นโดย เรียกกันเต็ม ๆ ว่า ตักบาตรเทโวโรหนะ คือตักบาตรเนื่องในวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลก



วันวิสาขบูชา




วันวิสาขบูชา

.วันวิสาขบูชา ตรงกับ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 หรือราวเดือนพฤษภาคม แต่หากตรงกันกับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 คำกลางเดือน7 หรือราวเดือนมิถุนายน

วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า วิสาขปุรณนีบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (เดือน6) ในวันนี้ได้มีเหตุการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นได้แก่

1. เป็นวันประสูติ ของพระพุทธเจ้า ณ สวนลุมพินีวันซึ่งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ แคว้นสักกะ

2. เป็นวันตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า ณ ร่มศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนนิคม แคว้นมคธ โดยธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้คือ

อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการได้แก่

1. ทุกข์ คือ หนทางที่ทำให้เกิดทุกข์
2. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
3. นิโรธ คือ การดับทุกข์
4. มรรค คือ หนทางให้ถึงการดับทุกข์

ทั้งสี่ข้อนี้ถือเป็นสัจ ธรรม เรียกว่าอริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเป็นสัจธรรมชั้นสูงประเสริฐกว่าสัจธรรมทั่วไป

3. เป็นวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ณ ต้นสาละคู่ ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ใกล้เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ รวมพระชนม์อายได้ 80 พรรษา

เหตุการณ์ทั้งสามนี้ เกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือนวิสาขะอย่างเดียวกัน นับว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์ เราจึงกำหนดวันเพ็ญเดือนวิสาขะเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงค้นพบหลักธรรม แล้วนำมาสอนชาวโลกนั้นมิอาจประมาณได้

เมื่อถึงวันวิสาขบูชา ทางราชการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ 1 วัน ชาวพุทธจะประกอบพิธีกรรมตามประเพณีนิยมดังนี้

1. ทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ รักษาศีล

2. ประกอบพิธีเวียนเทียน

3. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

วันสิ้นปี





ความสุข...ก่อนวันสิ้นปี 2552 จะมีอะไรอีกละ ??

วันก่อนสิ้นปีของทุกปี ครอบครัวเรามักจะเดินทางขึ้นไปทางภาคเหนือ ปีนี้ก็เช่นกัน ... คิดไว้ว่าจะเดินทางไปขึ้นภู?? หาอากาศหนาวมาทรมานร่างกายเล่น ซึ่งน้องสะใภ้ได้โทรมาชวนไปเที่ยวภูทับเบิกอีกครั้ง หลังจากครั้งแรก...?? ผิดหวังจากภูทับเบิกมาแล้ว

แต่ครั้งนี้ ...ไม่ได้ไปใหนครับ ??? เพราะลูกชายจะกลับมาบ้าน แล้วดันจะกลับมาวันสิ้นปี2553 ด้วยสิ.. จึงยกเลิกไปภูทับเบิก ด้วยความเต็มใจ..?? เพราะไม่อยากผิดหวังอีก ... ในเมื่อไม่ได้ไป..ก็คิดที่จะหาอะไรทานให้อิ่มท้องจะดีกว่า อย่างน้อยมันก็ทำให้มีความสุขได้เช่นกัน ... ไม่ต้องไปแย่งขับรถ แย่งที่พัก แย่งที่กิน แย่งที่นอน กัน อิอิอิ

แล้วเมืองกาญจนบุรีจะมีอะไรน่าทานละ ??? ไม่ต้องตอบมานะครับ เพราะ??? ตั้งใจไปทานอาหารทะเลเผากันครับ ไม่ได้ไปไกลถึงมหาชัยหรือแม่กลอง หรอกครับ ... ร้านอาหารทะเลเผาที่อร่อยก็มีครับที่เมืองกาญจนบุรี อยากรู้ ตามมาอ่านต่อนะครับ ..... ขับรถยนต์เข้าตัวเมืองกาญจนบุรี ก่อนถึงตัวเมืองจะมีสามแยกไฟแดงท่าล้อ ให้เลี้ยวขวามือ ขับไปตามถนนเลี่ยงเมือง ไม่น่าเกิน 3-4 กิโลเมตร จากสามแยกไฟแดงท่าล้อ ร้านจะชื่อ ราชาทะเลเผา อยู่ทางซ้ายมือนะครับ ระวังจะขับรถเลยไปละครับ

วันนี้คนมาทานกันแยะครับ พูดได้ว่าเกือบจะไม่มีที่นั่งทานกันนะครับ แล้วจะต้องรออาหารนานด้วย เพราะทำกันสดๆ วันนี้ตั้งใจมาทาน หอยแครงเผา หอยแครงยำ ปู่นึ่ง ลูกชายสั่งปลาคังลวก ภรรยาสั่งยำทะเลรวมมิตร อาหารจานแรกที่มาเร็วที่สุด หอยแครงเผาครับ รีบทานเลยละเพราะหิว อิอิอิ โอ้แม่เจ้า...??? หอยมันร้อนจริงๆๆ แต่ก็ทานหมดในเวลาอันรวดเร็ว


อาหารจานที่สอง ยำหอยแครง รสชาดออกเปรี้ยวนิดๆๆ แต่หอยตัวใหญ่พอสมควรเคี้ยวเพลินเลยครับ ตามด้วยปูนึ่ง ซึ่งได้ปูขนาด 2 ตัวจำนวน 1 กิโลกรัม (ราคา 500 บาท) ครับ ไม่น่าเขื่อว่าจะได้ทาปูที่สดมากครับ เนื้อนี้หวานโดยไม่ใช้น้ำจิ้มเลยครับ

อาหารจานต่อมาก็ ปลาคังลวกและยำทะเลรวมมิตร ปลาคังไม่ทันได้ทานเพราะมัวยุ่งกับปูนึ่ง หันมาอีกที่ปลาคังลวกหมดไปแล้วโดยฝีมือลูกชาย อิอิอิ ยำทะเลรวมมิตรมีทั้งปลาหมึก หอยแมงภู่ กุ้งตัวโตๆ รสออกจะเปรี้ยวๆหวานๆ เอาใจคน กทม. นะครับ ทานไปเบ็ดเสร็จ รวมเงิน 820 บาท (ลูกชายขอแย่งจ่าย)


ทานอาหารทะเลเสร็จแล้ว เวลายังเหลือ( ยังไม่อยากกลับเข้าบ้าน)นะครับ ภรรยาขอไปทานไอศรีม Swensens ไปก็ไปครับ... ขับรถไปทานในตัวเมืองแถวห้างสีเขียวนะครับ ... ไปสั่งไอศรีมถ้วยใหญ่มาทานกันสามคนพ่อแม่ลูก ได้ยินแว่วๆๆว่า ลูกชายสั่งแบบ ฮอร์ริเคน และใส่กล้วยหอมให้คุณพ่อด้วย อิอิอิ ทานเสร็จที่นี้ก็กลับบ้านแล้วครับ

วันสิ้นปี ปีนี้ก็หาความสุขใส่ตัวได้ครับ ไม่ต้องออกไปหาอากาศหนาวๆๆ ขับรถติดๆๆบนถนนใหญ่ ขอให้ทุกท่านที่เข้ามาอ่าน จงมีความสุขตลอดปี 2553 ร่ำรวยๆๆทุกท่านครับ



วันรัฐธรรมนูญ
วันรัฐธรรมนูญในประเทศไทย หรือ วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย โดยผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน

วันรัฐธรรมนูญ

10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทยเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ใช้กันมาเป็นเวลา 700 ปีเศษ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ
อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
รัฐบาลได้ออกกฎหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดินจากราษฎร


จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฎิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร
ซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์เป็นผู้บริหารประเทศ

วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ ได้แก่ การที่กำหนดว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ


พระมหากษัตริย์
สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมการราษฎร
ศาล

ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฎิบัติราชการต่างๆจะต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎร จึงจะใช้ได้สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้ว จึงจะมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้ว พิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

กระทั่งถึงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวรซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครอง เป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็น ที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่ พ.ศ. 2475 มาจนถึงปัจจุบันรัฐธรรมนูญไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 25 ฉบับ แต่ถ้านับเฉพาะฉบับที่สำคัญจะมีเพียง 18 ฉบับดังนี้

ฉบับที่ 1. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2427 ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 5 เดือน 13 วัน

ฉบับที่ 2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 13 ปี 5 เดือน

ฉบับที่ 3. รัฐธรรมนูญฉบับราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รวมอายุการประกาศและการบังคับใช้ 1 ปี 5 เดือน 28 วัน

ฉบับที่ 4. รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รวมอายุการประกาศใช้ 1 ปี 4 เดือน 14 วัน

ฉบับที่ 5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี 8 เดือน 6 วัน

ฉบับที่ 6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ประกาศและบังคับใช้ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 รวมอายุและประกาศบังคับใช้ 6 ปี 7 เดือน 12 วัน

ฉบับที่ 7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2502 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 9 ปี 4 เดือน 20 วัน

ฉบับที่ 8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 3 ปี 4 เดือน 20 วัน

ฉบับที่ 9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2515 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 9 เดือน 22 วัน

ฉบับที่ 10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี

ฉบับที่ 11. รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2519 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี

ฉบับที่ 12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 13 วัน

ฉบับที่ 13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2528)

ฉบับที่ 14. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

ฉบับที่ 15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

ฉบับที่ 16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

ฉบับที่ 17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว)

ฉบับที่ 18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (รัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ตราไว้ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลเป็นอดีตภาค ๒๕๕๐ พรรษา ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม สูกรสมพัดสร สาวนมาส ชุณหปักษ์ เอกาทสิดิถี สุริยคติกาล สิงหาคมมาส จตุวีสติมสุรทิน ศุกรวาร โดยกาลบริเฉท

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้นําความกราบบังคมทูลว่า การปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ดําเนินวัฒนามากว่าเจ็ดสิบห้าปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการประกาศใช้ ยกเลิก และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของบ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้น มีหน้าที่จัดทําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับสําหรับเป็นแนวทางการปกครองประเทศ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนและนําความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคํานึงพิเศษ ในการยกร่างและพิจารณาแปรญัตติโดยต่อเนื่อง

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทําใหม่นี้มีสาระสําคัญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย ในการธํารงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ การทํานุบํารุงรักษาศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นมิ่งขวัญของชาติ การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การกําหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาล และองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม

เมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การออกเสียงลงประชามติ ปรากฏผลว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงนําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดําริว่าสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตามมติของมหาชน

จึงมีพระบรมราชโองการดํารัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป

ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธํารงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอํานาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนํามาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์พิพัฒนชัยมงคลอเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระบรมราชปณิธานปรารถนาทุกประการ เทอญ

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553




คำนี้มีอานุภาพยิ่งใหญ่ในใจลูกทุกคน จนยากที่จะเปรียบเทียบได้ กับทุกสรรพสิ่งในโลก ดังคำขวัญที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานไว้ว่า “แม่เป็นพระอรหันต์ของลูก คนที่เที่ยววิ่งหาพระเพื่อกราบไหว้พระอรหันต์ อย่าลืมว่ามีพระอรหันต์อยู่กับตัวแล้ว ควรปฏิบัติต่อแม่อย่าให้บกพร่องได้” พระคุณของแม่อันประกอบไปด้วยความรักที่มีต่อลูกอย่างสุดหัวใจเช่นนี้ คงไม่ยากจนเกินไปนัก หากเอ่ยคำว่า “รัก” ให้แม่ได้ชื่นใจบ้าง เพราะคุณอาจโชคดีกว่าหลาย ๆ คนที่ได้เพียงแต่รำลึกถึงพระคุณแม ่ผ่านภาพและเงาที่ตราตรึงไว้ในความทรงจำเท่านั้นว่า “ลูกรักแม่”

ความเป็นมาของวันแม่

ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว
สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง

ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย เห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม ่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา

เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย...

นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ (Bilabial) ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น

ภาษาไทย แม่
ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ mom , mam
ภาษาโซ่ ม๋เปะ
ภาษามุสลิม มะ
ภาษาไทใต้คง เม
เป็นต้น

เป็นเพลงที่มีเนื้อความสั้น ๆ ร้องง่าย ชาวบ้านในอดีตมักร้องกันได้ เนื่องจากได้ยินได้ฟังมาตั้งแต่เกิด คือได้ฟังพ่อแม่ร้องกล่อมตนเอง น้อง หลาน ฯลฯ เมื่อมีลูกก็มักร้องกล่อมลูก จึงเป็นเพลงที่ร้องกันได้เป็นส่วนมาก เราจึงพบว่าเพลงกล่อมเด็กมีอยู่ทุกภูมิภาคของไทย และเป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็กในสังคมไทย ซึ่งหากศึกษาจะพบว่า

1.เพลงกล่อมเด็กมีหน้าที่กล่อมให้เด็กหลับโดยตรง ดังนั้นจึงเป็นเพลงที่มีทำนองฟังสบาย แสดงความรักใคร่ห่วงใยของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็ก 2.เพลงกล่อมเด็กมีหน้าที่แอบแฝงหลายประการ อาทิ -การสอนภาษา เพื่อให้เด็กออกเสียงต่าง ๆ ได้โดยการหัดเลียนเสียง และออกเสียงต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น

-ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ การดำเนินชีวิต การทำมาหากินของสังคมตนเอง การสร้างค่านิยมต่าง ๆ รวมทั้งการระบายอารมณ์และความในใจของผู้ร้อง

นอกจากนี้พบว่า ส่วนมากแล้วเพลงกล่อมเด็ก มักมีใจความแสดงถึงความรักใคร่ห่วงใยลูก ซึ่งความรักและความห่วงใยนี้ แสดงออกมาในรูปของการทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเก็บเด็กไว้ใกล้ตัว
บทเพลงกล่อมเด็กจึงเป็นบทเพลงที่แสดงอารมณ์ ความรักความผูกพันระหว่างแม่-ลูก ซึ่งแต่ละบทมักแสดงถึงความรักความอาทร ทะนุถนอม ที่แม่มีต่อ

ลูกอย่างซาบนกเขาขัน

นกเขาเอย ขันแต่เช้าไปจนเย็น ขันไปให้ดังแม่จะฟังเสียงเล่น เนื้อเย็นเจ้าคนเดียวเอย
กาเหว่า
กาเหว่าเอย ไข่ให้แม่กาฟัก แม่กาหลงรัก คิดว่าลูกในอุทร
คาบข้าวมาเผื่อ คาบเหยื่อมาป้อน ปีกหางเจ้ายังอ่อน สอนร่อนสอนบิน
แม่กาพาไปกิน ที่ปากน้ำแม่คงคา ตีนเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซ้หาปลา
กินกุ้งกินกั้ง กินหอยกระพังแมงดา กินแล้วบินมา จับต้นหว้าโพธิทอง
นายพรานเห็นเข้า เยี่ยมเยี่ยมมองมอง ยกปืนขึ้นส่อง หมายจ้องแม่กาดำ
ตัวหนึ่งว่าจะต้ม ตัวหนึ่งว่าจะยำ แม่กาตาดำ แสนระกำใจเอย

วัดโบสถ์
วัดเอ๋ยวัดโบสถ์ มีต้นข้าวโพดสาลี
ลูกเขยตกยาก แม่ยายก็พรากเอาตัวหนี
ข้าวโพดสาลี ต่อแต่นี้จะโรยรา
นอนไปเถิด
นอนไปเถิดแม่จะกล่อม นวลละม่อมแม่จะไกว
ทองคำแม่อย่าร่ำไห้ สายสุดใจเจ้าแม่เอย
เจ้าเนื้อละมุน
เจ้าเนื้อละมุนเอย เจ้าเนื้ออุ่นเหมือนสำลี
แม่มิให้ผู้ใดต้อง เนื้อเจ้าจะหมองศรี
ทองดีเจ้าคนเดียวเอย
เจ้าเนื้ออ่อน
เจ้าเนื้ออ่อนเอย อ้อนแม่จะกินนม
แม่จะอุ้มเจ้าออกชม กินนมแล้วนอนเปลเอย

วันพืชมงคล




วันพืชมงคล

ประวัติความเป็นมา

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีสิริมงคล เพื่อบำรุงขวัญแก่เกษตรกร จึงเป็นวันที่มีความสำคัญ โบราณกาลจึงได้วางหลักเกณฑ์ให้ประกอบพิธีในวันที่ดีที่สุดของแต่ละปี ประกอบด้วย ขึ้น แรม ฤกษ์ยาม ให้ได้วันอันเป็นอุดมฤกษ์ตามตำราโหราศาสตร์แต่ต้องอยู่ในระหว่างเดือน ๖ โดยที่มีประเพณีต้องหาฤกษ์ตามตำราทางจันทรคติพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึงไม่ได้กำหนดวันเวลาไว้ตายตัว ตามปกติแล้วจะตกอยู่ในระหว่างเดือนพฤษภาคม การที่ต้องกำหนดให้อยู่ในเดือน ๖ ก็เพราะเดือนนี้เริ่มจะเข้าฤดูฝน เป็นระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จะได้เตรียมทำนาอันเป็นอาชีพหลักสำคัญของชาวไทยมาแต่โบราณ เมื่อโหรหลวงคำนวณได้วันอุดมมงคลพระฤกษ์ ที่จะประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้ว
สำนักพระราชวังจะได้ ลงไว้ในปฏิทินหลวงที่พระราชทานในวันขึ้นปีใหม่ทุกปีและได้กำหนดไว้ว่าวันใดเป็นวันพืชมงคล วันใดเป็นวันจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
วันแรกนาขวัญเป็นวันสำคัญของชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติให้หยุดราชการ ๑ วัน และมีประกาศให้ชักธงชาติตามระเบียบทางราชการ

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญได้ปฏิบัติเป็นราชประเพณี ตลอดมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๙ แล้วได้เว้นว่างไป ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๓ ทางรัฐบาลสั่งให้กำหนดมีการพระราชพิธีเฉพาะแต่พืชมงคลที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามตามราชประเพณีที่เคยปฏิบัติมา


การประกอบพระราชพิธี

พระราชพิธีพืชมงคลเป็นส่วนประกอบเพื่อสิริมงคลแก่พันธุ์พืชสำหรับนำไปใช้ในการ
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ กำหนดงานก่อนวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ๑ วัน มีอ่านประกาศ ถึงความสำคัญที่จะเริ่มพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในประกาศ นั้น อ้างหลักธรรมทางพุทธศาสนาสมัยพุทธกาล คราวเกิดฝนแล้ง ด้วยพุทธานุภาพทรงบันดาลให้ฝนตก ทำนา ทำไร่ หว่านพืชผลได้ตามปรกติ และกล่าวถึงตำนานการสร้างพระคันธารราษฎร์อันเกี่ยวด้วยพุทธานุภาพ ที่ทรงบันดาลให้ฝนตกจึงได้สร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้น ณ เมืองคันธารราษฎร์ในครั้งอดีตกาล จากนั้นประกาศสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกองค์ปฐมกษัตริย์ ที่ได้ทรงงสร้างพระพุทธคันธารราษฎร์ขึ้นไว้เพื่อประกอบการพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตามตำนานที่มีมา แต่โบราณกาล ซึ่งเป็นราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทรงอนุวัติจัดงานพระราชพิธีนี้สืบมา สุดท้ายประกาศถวายพระพรชัยมงคล และขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาเทพยดาทั้งปวงประสิทธิ์ประสาทให้พืชพันธุ์ธัญญาหารในราชอาณาจักรอุดมสมบูรณ์งอกงาม เจริญดี ตลอดจนขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จบประกาศแล้วพระสงฆ์๑๑ รูป เจริญพระพุทธมนต์เป็นคาถาพิเศษสำหรับพืชมงคลโดยเฉพาะ เพื่อเสกพืชพันธุ์ต่าง ๆ ที่ได้นำมาตั้งเข้าพิธีมณฑลมีข้าวเปลือกพันธุ์ต่างๆ ถั่วทุกชนิด ข้าวโพด งา ฟัก แฟง แตงกวา เผือก มัน ฝ้าย เป็นต้น

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เลขาธิการพระราชวังพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่าพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ แต่เดิมจัดเป็น ๒ วันแล้วได้ระงับไปคงได้แต่พิธีพืชมงคลจัดเป็นงานประจำทุกปี สำหรับปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ทางรัฐบาลเห็นควรจัดให้มีการแรกนาขวัญขึ้นอย่างเดิมเพื่อรักษาบูรพประเพณีอันเป็นมิ่งขวัญของการเกษตรไว้สืบต่อไป สำนักพระราชวังและกระทรวงเกษตรจึงได้กำหนดงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตามราชประเพณีเดิมขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ จนถึงปัจจุบันนี้ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานการพระราชพิธีทุกปี ทรงมีพระราชกระแสให้ปรับปรุงพระราชพิธีเพื่อความเหมาะสมตามยุคสมัยด้วยพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแต่เดิมมาทำที่ทุ่งนาพญาไท เมื่อได้มีการฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นใหม่ จึงจัดให้มีขึ้นที่ท้องสนามหลวง ซึ่งเคยเป็นที่ประกอบพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในรัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓

ส่วนผู้ที่จะเป็นพระยาแรกนาในสมัยก่อนเคยโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ เป็นพระยาแรกนา และผู้ที่เป็นเทพีหาบกระบุงทอง กระบุงเงิน บรรจุข้าวเปลือกหว่านนั้น โปรดเกล้าฯ ให้จัดท้าวนางฝ่ายใน เมื่อเวลาได้เปลี่ยนแปลงหน้าที่ตำแหน่งไปแล้วเช่นนี้ เมื่อเริ่มฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระมังคัลแรกนาขวัญขึ้นมาใหม่ พระยาแรกนาจึงได้แก่ อธิบดีกรมการข้าวกระทรวงเกษตร เทพีได้คัดเลือกจากข้าราชการสตรีผู้มีเกียรติในกระทรวงเกษตรในปีต่อมาจนปัจจุบันผู้เป็นพระยาแรกนา ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนเทพีนั้นคัดเลือกจากข้าราชการสตรีโสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระดับ ๓ - ๔ คือขั้นโทขึ้นไป
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีเพื่อสิริมงคลแก่พืชพันธุ์ธัญญาหารสนับสนุนส่งเสริมชาวไร่ ชาวนาในการประกอบอาชีพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งได้เสด็จฯมาเป็นประธานอธิษฐานขอความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารให้มีแก่อาณาจักรไทย และได้ทรงปลูกพันธุ์ข้าวทดลองในนาทดลองบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ซึ่งเป็นพระราชฐานที่ประทับ เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วพระราชทานนำมาเข้าในพระราชพิธี ประมาณ ๔๐ - ๕๐ กิโลกรัม เมล็ดพันธุ์ข้าวที่พระราชทานมาเข้าพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แบ่งไปหว่านที่ลานประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งจัดบรรจุซองส่งไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรสำหรับแจกจ่ายแก่เกษตรกร เพื่อเป็นสิริมงคลตามพระราชประสงค์ที่ทรงส่งเสริมการเกษตร






วันพ่อ 5 ธันวามหาราช วันพ่อแห่งชาติ กลอนวันพ่อ เพลงวันพ่อ เพลงพ่อ เพลงเกี่ยวกับพ่อ
วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต
นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริ่เริ่ม
ความเป็นมาวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวา ( วันพ่อ )
ความหมายตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา
๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์ เป็นผู้ถวายการประสูติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการ จำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม" อันคำว่าโดย "ธรรม" นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม" หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า "ราชธรรม 10 ประการ" ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ

วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริ่เริ่ม หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญ ต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้

กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.ประดับธงชาติที่อาคารบ้านเรือน
2.จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล
3.จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
วัตถุประสงค์ของการจัดวันพ่อแห่งชาติ

1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูต่อพ่อ
4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อได้สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน


เพลง "พ่อแห่งแผ่นดิน"
เพลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

(หญิง) อัครศิลปิน กรองศาสตร์ กรองศิลป์ การดนตรี
ร้อยกรอง บทกวี ซึ้งกมล
ตราบฟากฟ้า ครึ้มฝน ต้นไม้ทุกต้น พลอยยินดี
รู้รักสามัคคีเพื่อพ่อแห่งไทย
(ชาย) เหล่าประชา คารวะ สดุดี
แผ่นดินนี้ มีสุข ด้วยองค์ พระทรงชัย
บรรดาชาติชน ชื่นชม สมใจ
ถวายบังคม เทิดไท้ ภูมิพลมหาราชา
(หญิง) ภักดีถวาย ดวงใจ ของไทยทั้งชาติ
มหาราช ปราดเปรื่อง เรื่องของกีฬา
(ชาย) ล้ำเลิศสื่อสาร พลังงานแทนแก้ปัญหา
ฝนหลวง ฟ้าห่วงชาวนา
ชาติไทย นับว่าโชคดี
(ชาย - หญิง) ทรงนำเศรษฐกิจพอเพียง หล่อเลี้ยงชีวา
เป็นปรัชญา เกริกฟ้า ก้องปฐพี
ไทยทั้งผอง ภูมิใจ ไทยเป็นไทยจนวันนี้
เพราะองค์ภูมิพลที่ คุ้มครองไทย



สุดหล่อ สุดสวย มาดูนี่ก่อน