วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

วันออกพรรษา




วันออกพรรษา

วันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น 15 คำเดือน 11 หรือราวเดือนตุลาคม เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ร่วมกันในวัดหรืถานที่ที่เข้าพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือนในวันนี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีสังฆฏรรม ซึ่งเรียกว่า วันมหาปวารณา คือ เป็นวันที่พระภิกษุทุกรูปจะอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในรื่องราวเกี่ยวกับความประพฤติต่างๆ นับตั้งแต่พระเถระ ได้แก่ พระภิกษุผู้มีอาวุโสสูงลงมา จะสามารถว่ากล่าวตักเตือนกันหรือเปิดโอกาสให้วักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกัน

การทำมหาปวารณา เป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่งแทนการสวดปาติโมกข์(พระวินัย) ที่ได้กระทำกันทก 15 วันในช่วงเข้าพรรษา

การประกอบพิธีในวันออกพรรษา

การประกอบพิธีสำคัญในวันนี้ เหล่าชาวพุทธจะนิยมทำบูญกุศลเป็นกรณีพิเศษ เช่น ตักบาตรในตอนเช้า ถวายสังฆทาน ไปทำบุญที่วัด ถวายภัตตาหาร ฟังพระธรรมเทศนา และมีการตักบาตรเทโวในวันรุ่งขึ้นโดย เรียกกันเต็ม ๆ ว่า ตักบาตรเทโวโรหนะ คือตักบาตรเนื่องในวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลก



วันวิสาขบูชา




วันวิสาขบูชา

.วันวิสาขบูชา ตรงกับ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 หรือราวเดือนพฤษภาคม แต่หากตรงกันกับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 คำกลางเดือน7 หรือราวเดือนมิถุนายน

วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า วิสาขปุรณนีบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (เดือน6) ในวันนี้ได้มีเหตุการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นได้แก่

1. เป็นวันประสูติ ของพระพุทธเจ้า ณ สวนลุมพินีวันซึ่งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ แคว้นสักกะ

2. เป็นวันตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า ณ ร่มศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนนิคม แคว้นมคธ โดยธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้คือ

อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการได้แก่

1. ทุกข์ คือ หนทางที่ทำให้เกิดทุกข์
2. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
3. นิโรธ คือ การดับทุกข์
4. มรรค คือ หนทางให้ถึงการดับทุกข์

ทั้งสี่ข้อนี้ถือเป็นสัจ ธรรม เรียกว่าอริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเป็นสัจธรรมชั้นสูงประเสริฐกว่าสัจธรรมทั่วไป

3. เป็นวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ณ ต้นสาละคู่ ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ใกล้เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ รวมพระชนม์อายได้ 80 พรรษา

เหตุการณ์ทั้งสามนี้ เกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือนวิสาขะอย่างเดียวกัน นับว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์ เราจึงกำหนดวันเพ็ญเดือนวิสาขะเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงค้นพบหลักธรรม แล้วนำมาสอนชาวโลกนั้นมิอาจประมาณได้

เมื่อถึงวันวิสาขบูชา ทางราชการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ 1 วัน ชาวพุทธจะประกอบพิธีกรรมตามประเพณีนิยมดังนี้

1. ทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ รักษาศีล

2. ประกอบพิธีเวียนเทียน

3. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

วันสิ้นปี





ความสุข...ก่อนวันสิ้นปี 2552 จะมีอะไรอีกละ ??

วันก่อนสิ้นปีของทุกปี ครอบครัวเรามักจะเดินทางขึ้นไปทางภาคเหนือ ปีนี้ก็เช่นกัน ... คิดไว้ว่าจะเดินทางไปขึ้นภู?? หาอากาศหนาวมาทรมานร่างกายเล่น ซึ่งน้องสะใภ้ได้โทรมาชวนไปเที่ยวภูทับเบิกอีกครั้ง หลังจากครั้งแรก...?? ผิดหวังจากภูทับเบิกมาแล้ว

แต่ครั้งนี้ ...ไม่ได้ไปใหนครับ ??? เพราะลูกชายจะกลับมาบ้าน แล้วดันจะกลับมาวันสิ้นปี2553 ด้วยสิ.. จึงยกเลิกไปภูทับเบิก ด้วยความเต็มใจ..?? เพราะไม่อยากผิดหวังอีก ... ในเมื่อไม่ได้ไป..ก็คิดที่จะหาอะไรทานให้อิ่มท้องจะดีกว่า อย่างน้อยมันก็ทำให้มีความสุขได้เช่นกัน ... ไม่ต้องไปแย่งขับรถ แย่งที่พัก แย่งที่กิน แย่งที่นอน กัน อิอิอิ

แล้วเมืองกาญจนบุรีจะมีอะไรน่าทานละ ??? ไม่ต้องตอบมานะครับ เพราะ??? ตั้งใจไปทานอาหารทะเลเผากันครับ ไม่ได้ไปไกลถึงมหาชัยหรือแม่กลอง หรอกครับ ... ร้านอาหารทะเลเผาที่อร่อยก็มีครับที่เมืองกาญจนบุรี อยากรู้ ตามมาอ่านต่อนะครับ ..... ขับรถยนต์เข้าตัวเมืองกาญจนบุรี ก่อนถึงตัวเมืองจะมีสามแยกไฟแดงท่าล้อ ให้เลี้ยวขวามือ ขับไปตามถนนเลี่ยงเมือง ไม่น่าเกิน 3-4 กิโลเมตร จากสามแยกไฟแดงท่าล้อ ร้านจะชื่อ ราชาทะเลเผา อยู่ทางซ้ายมือนะครับ ระวังจะขับรถเลยไปละครับ

วันนี้คนมาทานกันแยะครับ พูดได้ว่าเกือบจะไม่มีที่นั่งทานกันนะครับ แล้วจะต้องรออาหารนานด้วย เพราะทำกันสดๆ วันนี้ตั้งใจมาทาน หอยแครงเผา หอยแครงยำ ปู่นึ่ง ลูกชายสั่งปลาคังลวก ภรรยาสั่งยำทะเลรวมมิตร อาหารจานแรกที่มาเร็วที่สุด หอยแครงเผาครับ รีบทานเลยละเพราะหิว อิอิอิ โอ้แม่เจ้า...??? หอยมันร้อนจริงๆๆ แต่ก็ทานหมดในเวลาอันรวดเร็ว


อาหารจานที่สอง ยำหอยแครง รสชาดออกเปรี้ยวนิดๆๆ แต่หอยตัวใหญ่พอสมควรเคี้ยวเพลินเลยครับ ตามด้วยปูนึ่ง ซึ่งได้ปูขนาด 2 ตัวจำนวน 1 กิโลกรัม (ราคา 500 บาท) ครับ ไม่น่าเขื่อว่าจะได้ทาปูที่สดมากครับ เนื้อนี้หวานโดยไม่ใช้น้ำจิ้มเลยครับ

อาหารจานต่อมาก็ ปลาคังลวกและยำทะเลรวมมิตร ปลาคังไม่ทันได้ทานเพราะมัวยุ่งกับปูนึ่ง หันมาอีกที่ปลาคังลวกหมดไปแล้วโดยฝีมือลูกชาย อิอิอิ ยำทะเลรวมมิตรมีทั้งปลาหมึก หอยแมงภู่ กุ้งตัวโตๆ รสออกจะเปรี้ยวๆหวานๆ เอาใจคน กทม. นะครับ ทานไปเบ็ดเสร็จ รวมเงิน 820 บาท (ลูกชายขอแย่งจ่าย)


ทานอาหารทะเลเสร็จแล้ว เวลายังเหลือ( ยังไม่อยากกลับเข้าบ้าน)นะครับ ภรรยาขอไปทานไอศรีม Swensens ไปก็ไปครับ... ขับรถไปทานในตัวเมืองแถวห้างสีเขียวนะครับ ... ไปสั่งไอศรีมถ้วยใหญ่มาทานกันสามคนพ่อแม่ลูก ได้ยินแว่วๆๆว่า ลูกชายสั่งแบบ ฮอร์ริเคน และใส่กล้วยหอมให้คุณพ่อด้วย อิอิอิ ทานเสร็จที่นี้ก็กลับบ้านแล้วครับ

วันสิ้นปี ปีนี้ก็หาความสุขใส่ตัวได้ครับ ไม่ต้องออกไปหาอากาศหนาวๆๆ ขับรถติดๆๆบนถนนใหญ่ ขอให้ทุกท่านที่เข้ามาอ่าน จงมีความสุขตลอดปี 2553 ร่ำรวยๆๆทุกท่านครับ



วันรัฐธรรมนูญ
วันรัฐธรรมนูญในประเทศไทย หรือ วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย โดยผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน

วันรัฐธรรมนูญ

10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทยเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ใช้กันมาเป็นเวลา 700 ปีเศษ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ
อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
รัฐบาลได้ออกกฎหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดินจากราษฎร


จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฎิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร
ซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์เป็นผู้บริหารประเทศ

วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ ได้แก่ การที่กำหนดว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ


พระมหากษัตริย์
สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมการราษฎร
ศาล

ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฎิบัติราชการต่างๆจะต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎร จึงจะใช้ได้สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้ว จึงจะมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้ว พิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

กระทั่งถึงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวรซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครอง เป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็น ที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่ พ.ศ. 2475 มาจนถึงปัจจุบันรัฐธรรมนูญไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 25 ฉบับ แต่ถ้านับเฉพาะฉบับที่สำคัญจะมีเพียง 18 ฉบับดังนี้

ฉบับที่ 1. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2427 ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 5 เดือน 13 วัน

ฉบับที่ 2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 13 ปี 5 เดือน

ฉบับที่ 3. รัฐธรรมนูญฉบับราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รวมอายุการประกาศและการบังคับใช้ 1 ปี 5 เดือน 28 วัน

ฉบับที่ 4. รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รวมอายุการประกาศใช้ 1 ปี 4 เดือน 14 วัน

ฉบับที่ 5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี 8 เดือน 6 วัน

ฉบับที่ 6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ประกาศและบังคับใช้ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 รวมอายุและประกาศบังคับใช้ 6 ปี 7 เดือน 12 วัน

ฉบับที่ 7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2502 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 9 ปี 4 เดือน 20 วัน

ฉบับที่ 8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 3 ปี 4 เดือน 20 วัน

ฉบับที่ 9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2515 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 9 เดือน 22 วัน

ฉบับที่ 10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี

ฉบับที่ 11. รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2519 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี

ฉบับที่ 12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 13 วัน

ฉบับที่ 13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2528)

ฉบับที่ 14. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

ฉบับที่ 15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

ฉบับที่ 16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

ฉบับที่ 17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว)

ฉบับที่ 18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (รัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ตราไว้ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลเป็นอดีตภาค ๒๕๕๐ พรรษา ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม สูกรสมพัดสร สาวนมาส ชุณหปักษ์ เอกาทสิดิถี สุริยคติกาล สิงหาคมมาส จตุวีสติมสุรทิน ศุกรวาร โดยกาลบริเฉท

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้นําความกราบบังคมทูลว่า การปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ดําเนินวัฒนามากว่าเจ็ดสิบห้าปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการประกาศใช้ ยกเลิก และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของบ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้น มีหน้าที่จัดทําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับสําหรับเป็นแนวทางการปกครองประเทศ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนและนําความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคํานึงพิเศษ ในการยกร่างและพิจารณาแปรญัตติโดยต่อเนื่อง

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทําใหม่นี้มีสาระสําคัญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย ในการธํารงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและความมั่นคงของชาติ การทํานุบํารุงรักษาศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นมิ่งขวัญของชาติ การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การกําหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาล และองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม

เมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การออกเสียงลงประชามติ ปรากฏผลว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงนําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดําริว่าสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตามมติของมหาชน

จึงมีพระบรมราชโองการดํารัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป

ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธํารงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอํานาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนํามาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์พิพัฒนชัยมงคลอเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระบรมราชปณิธานปรารถนาทุกประการ เทอญ

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553




คำนี้มีอานุภาพยิ่งใหญ่ในใจลูกทุกคน จนยากที่จะเปรียบเทียบได้ กับทุกสรรพสิ่งในโลก ดังคำขวัญที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานไว้ว่า “แม่เป็นพระอรหันต์ของลูก คนที่เที่ยววิ่งหาพระเพื่อกราบไหว้พระอรหันต์ อย่าลืมว่ามีพระอรหันต์อยู่กับตัวแล้ว ควรปฏิบัติต่อแม่อย่าให้บกพร่องได้” พระคุณของแม่อันประกอบไปด้วยความรักที่มีต่อลูกอย่างสุดหัวใจเช่นนี้ คงไม่ยากจนเกินไปนัก หากเอ่ยคำว่า “รัก” ให้แม่ได้ชื่นใจบ้าง เพราะคุณอาจโชคดีกว่าหลาย ๆ คนที่ได้เพียงแต่รำลึกถึงพระคุณแม ่ผ่านภาพและเงาที่ตราตรึงไว้ในความทรงจำเท่านั้นว่า “ลูกรักแม่”

ความเป็นมาของวันแม่

ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว
สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง

ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย เห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม ่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา

เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย...

นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ (Bilabial) ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น

ภาษาไทย แม่
ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ mom , mam
ภาษาโซ่ ม๋เปะ
ภาษามุสลิม มะ
ภาษาไทใต้คง เม
เป็นต้น

เป็นเพลงที่มีเนื้อความสั้น ๆ ร้องง่าย ชาวบ้านในอดีตมักร้องกันได้ เนื่องจากได้ยินได้ฟังมาตั้งแต่เกิด คือได้ฟังพ่อแม่ร้องกล่อมตนเอง น้อง หลาน ฯลฯ เมื่อมีลูกก็มักร้องกล่อมลูก จึงเป็นเพลงที่ร้องกันได้เป็นส่วนมาก เราจึงพบว่าเพลงกล่อมเด็กมีอยู่ทุกภูมิภาคของไทย และเป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็กในสังคมไทย ซึ่งหากศึกษาจะพบว่า

1.เพลงกล่อมเด็กมีหน้าที่กล่อมให้เด็กหลับโดยตรง ดังนั้นจึงเป็นเพลงที่มีทำนองฟังสบาย แสดงความรักใคร่ห่วงใยของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็ก 2.เพลงกล่อมเด็กมีหน้าที่แอบแฝงหลายประการ อาทิ -การสอนภาษา เพื่อให้เด็กออกเสียงต่าง ๆ ได้โดยการหัดเลียนเสียง และออกเสียงต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น

-ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ การดำเนินชีวิต การทำมาหากินของสังคมตนเอง การสร้างค่านิยมต่าง ๆ รวมทั้งการระบายอารมณ์และความในใจของผู้ร้อง

นอกจากนี้พบว่า ส่วนมากแล้วเพลงกล่อมเด็ก มักมีใจความแสดงถึงความรักใคร่ห่วงใยลูก ซึ่งความรักและความห่วงใยนี้ แสดงออกมาในรูปของการทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเก็บเด็กไว้ใกล้ตัว
บทเพลงกล่อมเด็กจึงเป็นบทเพลงที่แสดงอารมณ์ ความรักความผูกพันระหว่างแม่-ลูก ซึ่งแต่ละบทมักแสดงถึงความรักความอาทร ทะนุถนอม ที่แม่มีต่อ

ลูกอย่างซาบนกเขาขัน

นกเขาเอย ขันแต่เช้าไปจนเย็น ขันไปให้ดังแม่จะฟังเสียงเล่น เนื้อเย็นเจ้าคนเดียวเอย
กาเหว่า
กาเหว่าเอย ไข่ให้แม่กาฟัก แม่กาหลงรัก คิดว่าลูกในอุทร
คาบข้าวมาเผื่อ คาบเหยื่อมาป้อน ปีกหางเจ้ายังอ่อน สอนร่อนสอนบิน
แม่กาพาไปกิน ที่ปากน้ำแม่คงคา ตีนเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซ้หาปลา
กินกุ้งกินกั้ง กินหอยกระพังแมงดา กินแล้วบินมา จับต้นหว้าโพธิทอง
นายพรานเห็นเข้า เยี่ยมเยี่ยมมองมอง ยกปืนขึ้นส่อง หมายจ้องแม่กาดำ
ตัวหนึ่งว่าจะต้ม ตัวหนึ่งว่าจะยำ แม่กาตาดำ แสนระกำใจเอย

วัดโบสถ์
วัดเอ๋ยวัดโบสถ์ มีต้นข้าวโพดสาลี
ลูกเขยตกยาก แม่ยายก็พรากเอาตัวหนี
ข้าวโพดสาลี ต่อแต่นี้จะโรยรา
นอนไปเถิด
นอนไปเถิดแม่จะกล่อม นวลละม่อมแม่จะไกว
ทองคำแม่อย่าร่ำไห้ สายสุดใจเจ้าแม่เอย
เจ้าเนื้อละมุน
เจ้าเนื้อละมุนเอย เจ้าเนื้ออุ่นเหมือนสำลี
แม่มิให้ผู้ใดต้อง เนื้อเจ้าจะหมองศรี
ทองดีเจ้าคนเดียวเอย
เจ้าเนื้ออ่อน
เจ้าเนื้ออ่อนเอย อ้อนแม่จะกินนม
แม่จะอุ้มเจ้าออกชม กินนมแล้วนอนเปลเอย

วันพืชมงคล




วันพืชมงคล

ประวัติความเป็นมา

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีสิริมงคล เพื่อบำรุงขวัญแก่เกษตรกร จึงเป็นวันที่มีความสำคัญ โบราณกาลจึงได้วางหลักเกณฑ์ให้ประกอบพิธีในวันที่ดีที่สุดของแต่ละปี ประกอบด้วย ขึ้น แรม ฤกษ์ยาม ให้ได้วันอันเป็นอุดมฤกษ์ตามตำราโหราศาสตร์แต่ต้องอยู่ในระหว่างเดือน ๖ โดยที่มีประเพณีต้องหาฤกษ์ตามตำราทางจันทรคติพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึงไม่ได้กำหนดวันเวลาไว้ตายตัว ตามปกติแล้วจะตกอยู่ในระหว่างเดือนพฤษภาคม การที่ต้องกำหนดให้อยู่ในเดือน ๖ ก็เพราะเดือนนี้เริ่มจะเข้าฤดูฝน เป็นระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จะได้เตรียมทำนาอันเป็นอาชีพหลักสำคัญของชาวไทยมาแต่โบราณ เมื่อโหรหลวงคำนวณได้วันอุดมมงคลพระฤกษ์ ที่จะประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้ว
สำนักพระราชวังจะได้ ลงไว้ในปฏิทินหลวงที่พระราชทานในวันขึ้นปีใหม่ทุกปีและได้กำหนดไว้ว่าวันใดเป็นวันพืชมงคล วันใดเป็นวันจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
วันแรกนาขวัญเป็นวันสำคัญของชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติให้หยุดราชการ ๑ วัน และมีประกาศให้ชักธงชาติตามระเบียบทางราชการ

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญได้ปฏิบัติเป็นราชประเพณี ตลอดมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๙ แล้วได้เว้นว่างไป ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๓ ทางรัฐบาลสั่งให้กำหนดมีการพระราชพิธีเฉพาะแต่พืชมงคลที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามตามราชประเพณีที่เคยปฏิบัติมา


การประกอบพระราชพิธี

พระราชพิธีพืชมงคลเป็นส่วนประกอบเพื่อสิริมงคลแก่พันธุ์พืชสำหรับนำไปใช้ในการ
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ กำหนดงานก่อนวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ๑ วัน มีอ่านประกาศ ถึงความสำคัญที่จะเริ่มพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในประกาศ นั้น อ้างหลักธรรมทางพุทธศาสนาสมัยพุทธกาล คราวเกิดฝนแล้ง ด้วยพุทธานุภาพทรงบันดาลให้ฝนตก ทำนา ทำไร่ หว่านพืชผลได้ตามปรกติ และกล่าวถึงตำนานการสร้างพระคันธารราษฎร์อันเกี่ยวด้วยพุทธานุภาพ ที่ทรงบันดาลให้ฝนตกจึงได้สร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้น ณ เมืองคันธารราษฎร์ในครั้งอดีตกาล จากนั้นประกาศสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกองค์ปฐมกษัตริย์ ที่ได้ทรงงสร้างพระพุทธคันธารราษฎร์ขึ้นไว้เพื่อประกอบการพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตามตำนานที่มีมา แต่โบราณกาล ซึ่งเป็นราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์ทรงอนุวัติจัดงานพระราชพิธีนี้สืบมา สุดท้ายประกาศถวายพระพรชัยมงคล และขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาเทพยดาทั้งปวงประสิทธิ์ประสาทให้พืชพันธุ์ธัญญาหารในราชอาณาจักรอุดมสมบูรณ์งอกงาม เจริญดี ตลอดจนขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จบประกาศแล้วพระสงฆ์๑๑ รูป เจริญพระพุทธมนต์เป็นคาถาพิเศษสำหรับพืชมงคลโดยเฉพาะ เพื่อเสกพืชพันธุ์ต่าง ๆ ที่ได้นำมาตั้งเข้าพิธีมณฑลมีข้าวเปลือกพันธุ์ต่างๆ ถั่วทุกชนิด ข้าวโพด งา ฟัก แฟง แตงกวา เผือก มัน ฝ้าย เป็นต้น

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เลขาธิการพระราชวังพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่าพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ แต่เดิมจัดเป็น ๒ วันแล้วได้ระงับไปคงได้แต่พิธีพืชมงคลจัดเป็นงานประจำทุกปี สำหรับปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ทางรัฐบาลเห็นควรจัดให้มีการแรกนาขวัญขึ้นอย่างเดิมเพื่อรักษาบูรพประเพณีอันเป็นมิ่งขวัญของการเกษตรไว้สืบต่อไป สำนักพระราชวังและกระทรวงเกษตรจึงได้กำหนดงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตามราชประเพณีเดิมขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ จนถึงปัจจุบันนี้ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานการพระราชพิธีทุกปี ทรงมีพระราชกระแสให้ปรับปรุงพระราชพิธีเพื่อความเหมาะสมตามยุคสมัยด้วยพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแต่เดิมมาทำที่ทุ่งนาพญาไท เมื่อได้มีการฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นใหม่ จึงจัดให้มีขึ้นที่ท้องสนามหลวง ซึ่งเคยเป็นที่ประกอบพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในรัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๓

ส่วนผู้ที่จะเป็นพระยาแรกนาในสมัยก่อนเคยโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ เป็นพระยาแรกนา และผู้ที่เป็นเทพีหาบกระบุงทอง กระบุงเงิน บรรจุข้าวเปลือกหว่านนั้น โปรดเกล้าฯ ให้จัดท้าวนางฝ่ายใน เมื่อเวลาได้เปลี่ยนแปลงหน้าที่ตำแหน่งไปแล้วเช่นนี้ เมื่อเริ่มฟื้นฟูพระราชพิธีจรดพระมังคัลแรกนาขวัญขึ้นมาใหม่ พระยาแรกนาจึงได้แก่ อธิบดีกรมการข้าวกระทรวงเกษตร เทพีได้คัดเลือกจากข้าราชการสตรีผู้มีเกียรติในกระทรวงเกษตรในปีต่อมาจนปัจจุบันผู้เป็นพระยาแรกนา ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนเทพีนั้นคัดเลือกจากข้าราชการสตรีโสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระดับ ๓ - ๔ คือขั้นโทขึ้นไป
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีเพื่อสิริมงคลแก่พืชพันธุ์ธัญญาหารสนับสนุนส่งเสริมชาวไร่ ชาวนาในการประกอบอาชีพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งได้เสด็จฯมาเป็นประธานอธิษฐานขอความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารให้มีแก่อาณาจักรไทย และได้ทรงปลูกพันธุ์ข้าวทดลองในนาทดลองบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ซึ่งเป็นพระราชฐานที่ประทับ เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วพระราชทานนำมาเข้าในพระราชพิธี ประมาณ ๔๐ - ๕๐ กิโลกรัม เมล็ดพันธุ์ข้าวที่พระราชทานมาเข้าพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แบ่งไปหว่านที่ลานประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งจัดบรรจุซองส่งไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรสำหรับแจกจ่ายแก่เกษตรกร เพื่อเป็นสิริมงคลตามพระราชประสงค์ที่ทรงส่งเสริมการเกษตร






วันพ่อ 5 ธันวามหาราช วันพ่อแห่งชาติ กลอนวันพ่อ เพลงวันพ่อ เพลงพ่อ เพลงเกี่ยวกับพ่อ
วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต
นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริ่เริ่ม
ความเป็นมาวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวา ( วันพ่อ )
ความหมายตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา
๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์ เป็นผู้ถวายการประสูติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการ จำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม" อันคำว่าโดย "ธรรม" นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม" หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า "ราชธรรม 10 ประการ" ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ

วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริ่เริ่ม หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญ ต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้

กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.ประดับธงชาติที่อาคารบ้านเรือน
2.จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล
3.จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
วัตถุประสงค์ของการจัดวันพ่อแห่งชาติ

1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูต่อพ่อ
4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อได้สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน


เพลง "พ่อแห่งแผ่นดิน"
เพลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

(หญิง) อัครศิลปิน กรองศาสตร์ กรองศิลป์ การดนตรี
ร้อยกรอง บทกวี ซึ้งกมล
ตราบฟากฟ้า ครึ้มฝน ต้นไม้ทุกต้น พลอยยินดี
รู้รักสามัคคีเพื่อพ่อแห่งไทย
(ชาย) เหล่าประชา คารวะ สดุดี
แผ่นดินนี้ มีสุข ด้วยองค์ พระทรงชัย
บรรดาชาติชน ชื่นชม สมใจ
ถวายบังคม เทิดไท้ ภูมิพลมหาราชา
(หญิง) ภักดีถวาย ดวงใจ ของไทยทั้งชาติ
มหาราช ปราดเปรื่อง เรื่องของกีฬา
(ชาย) ล้ำเลิศสื่อสาร พลังงานแทนแก้ปัญหา
ฝนหลวง ฟ้าห่วงชาวนา
ชาติไทย นับว่าโชคดี
(ชาย - หญิง) ทรงนำเศรษฐกิจพอเพียง หล่อเลี้ยงชีวา
เป็นปรัชญา เกริกฟ้า ก้องปฐพี
ไทยทั้งผอง ภูมิใจ ไทยเป็นไทยจนวันนี้
เพราะองค์ภูมิพลที่ คุ้มครองไทย



วันแฮโรวีน







Happy Halloween Days
Halloween (also spelled Hallowe'en) is an annual holiday celebrated on October 31. It has roots in the Celtic festival of Samhain and the Christian holy day of All Saints. It is largely a secular celebration but some have expressed strong feelings about perceived religious overtones.Irish immigrants carried versions of the tradition to North America during Ireland's Great Famine of the 1840s.
The day is often associated with orange and black, and is strongly associated with symbols like the jack-o'-lantern. Halloween activities include trick-or-treating, wearing costumes and attending costume parties, ghost tours, bonfires, visiting haunted attractions, pranks, reading scary stories, and watching horror films.
History

Halloween has origins in the ancient Gaelic festival known as Samhain (pronounced sow-in or sau-an), which is dervied from Old Irish and means roughly "summer's end".A similar festival was held by the ancient Britons and is known as Calan Gaeaf (pronounced kalan-geyf). The festival of Samhain celebrates the end of the "lighter half" of the year and beginning of the "darker half", and is sometimes regarded as the "Celtic New Year".
The celebration has some elements of a festival of the dead. The ancient Gaels believed that the border between this world and the Otherworld became thin on Samhain, allowing spirits (both harmless and harmful) to pass through. The family's ancestors were honoured and invited home whilst harmful spirits were warded off. It is believed that the need to ward off harmful spirits led to the wearing of costumes and masks. Their purpose was to disguise oneself as a harmful spirit and thus avoid harm. In Scotland the spirits were impersonated by young men dressed in white with masked, veiled or blackened faces.
Samhain was also a time to take stock of food supplies and slaughter livestock for winter stores. Bonfires played a large part in the festivities. All other fires were doused and each home lit their hearth from the bonfire. The bones of slaughtered livestock were cast into its flames. Sometimes two bonfires would be built side-by-side, and people and their livestock would walk between them as a cleansing ritual.
Another common practise was divination, which often involved the use of food and drink
Origin of name
The term Halloween, originally spelled Hallowe’en, is shortened from All Hallows' Even – e'en is a shortening of even, which is a shortening of evening. This is ultimately dervied from the Old English Eallra Hālgena ǣfen.[11] It is now known as All Saints' Day.
A time of pagan festivities,Popes Gregory III (731–741) and Gregory IV (827–844) tried to supplant it with the Christian holiday (All Saints' Day) by moving it from May 13 to November 1.
In the 800s, the Church measured the day as starting at sunset, in accordance with the Florentine calendar. Although All Saints' Day is now considered to occur one day after Halloween, the two holidays were once celebrated on the same day.
Symbols
On All Hallows’ eve, the ancient Celts would place a skeleton on their window sill to represent the departed. Originating in Europe, these lanterns were first carved from a turnip or rutabaga. Believing that the head was the most powerful part of the body, containing the spirit and the knowledge, the Celts used the "head" of the vegetable to frighten off harmful spirits. Welsh, Irish and British myth are full of legends of the Brazen Head, which may be a folk memory of the widespread ancient Celtic practice of headhunting – the results of which were often nailed to a door lintel or brought to the fireside to speak their wisdom. The name jack-o'-lantern can be traced back to the Irish legend of Stingy Jack, a greedy, gambling, hard-drinking old farmer. He tricked the devil into climbing a tree and trapped him by carving a cross into the tree trunk. In revenge, the devil placed a curse on Jack, condemning him to forever wander the earth at night with the only light he had: a candle inside of a hollowed turnip. The carving of pumpkins is associated with Halloween in North America where pumpkins are both readily available and much larger- making them easier to carve than turnips. Many families that celebrate Halloween carve a pumpkin into a frightening or comical face and place it on their doorstep after dark. The American tradition of carving pumpkins preceded the Great Famine period of Irish immigration and was originally associated with harvest time in general, not becoming specifically associated with Halloween until the mid-to-late 1800s.
The imagery surrounding Halloween is largely a mix of the Halloween season itself, works of Gothic and horror literature, in particular novels Frankenstein and Dracula, and nearly a century of work from American filmmakers and graphic artists, and British Hammer Horror productions, also a rather commercialized take on the dark and mysterious. Halloween imagery tends to involve death, evil, the occult, magic, or mythical monsters. Traditional characters include the Devil, the Grim Reaper, ghosts, ghouls, demons, witches, pumpkin-men, goblins, vampires, werewolves, martians, zombies, mummies, pirates, skeletons, black cats, spiders, bats, owls, crows, and vultures.[
Particularly in America, symbolism is inspired by classic horror films (which contain fictional figures like Frankenstein's monster and The Mummy). Elements of the autumn season, such as pumpkins, corn husks, and scarecrows, are also prevalent. Homes are often decorated with these types of symbols around Halloween.
The two main colors associated with Halloween are orange and black.

วันฮาโลวีน/Halloween Dayวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี
บรรยากาศวันฮาโลวีนที่ผู้คนจะแต่งแฟนซีเป็นผีวันฮาโลวีน (อังกฤษ: Halloween) เป็นงานฉลองในคืนวันที่ 31 ตุลาคม ในประเทศทางตะวันตก เด็กๆ จะแต่งกายเป็นภูตผีปีศาจพากันชักชวนเพื่อนฝูงออกไปงานฉลอง มีการประดับประดาแสงไฟ และที่สำคัญคือแกะสลักฟักทองเป็นโคมไฟ เรียกว่า แจ๊ก-โอ'-แลนเทิร์น (jack-o'-lantern)
การฉลองวันฮาโลวีนนิยมจัดกันในสหรัฐอเมริกา ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร แคนาดา และยังมีในออสเตรเลีย กับนิวซีแลนด์ด้วย รวมถึงประเทศอื่นในทวีปยุโรปก็นิยมจัดงานวันฮาโลวีนเพื่อความสนุกสนาน
ประวัติวันฮาโลวีน
วันที่ 31 ต.ค. เป็นวันที่ชาว เคลต์ (Celt) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในไอร์แลนด์ ถือกันว่า เป็นวันสิ้นสุดของฤดูร้อน และวันต่อมา คือ วันที่ 1 พ.ย. เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งในวันที่ 31 ต.ค. นี่เองที่ชาวเคลต์เชื่อว่า เป็นวันที่มิติคนตาย และคนเป็นจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในปีที่ผ่านมาจะเที่ยวหาร่างของคนเป็นเพื่อสิงสู่ เพื่อที่จะได้มีชีวิตขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เดือดร้อนถึงคนเป็น ต้องหาทุกวิถีทางที่จะไม่ให้วิญญาณมาสิงสู่ร่างตน ชาวเคลต์จึงปิดไฟทุกดวงในบ้าน ให้อากาศหนาวเย็น และไม่เป็นที่พึงปรารถนาของบรรดาผีร้าย นอกจากนี้ยังพยายามแต่งกายให้แปลกประหลาด ปลอมตัวเป็นผีร้าย และส่งเสียงดังอึกทึก เพื่อให้ผีตัวจริงตกใจหนีหายสาบสูญไป
โคมรูปฟักทอง แจ๊ก-โอ'-แลนเทิร์นบางตำนานยังเล่าถึงขนาดว่า มีการเผา "คนที่คิดว่าถูกผีร้ายสิง" เป็นการเชือดไก่ให้ผีกลัวอีกต่างหาก แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ที่ความคิดเรื่องผีสางยังฝังรากลึกในจิตใจมนุษย์ ต่อมาในศตวรรษแรกแห่งคริสตกาล ชาวโรมันรับประเพณีฮาโลวีนมาจากชาวเคลต์แต่ได้ตัดการเผาร่างคนที่ถูกผีสิงออก เปลี่ยนเป็นการเผาหุ่นแทน กาลเวลาผ่านไป ความเชื่อเรื่องผีจะสิงสูร่างมนุษย์เสื่อมถอยลงตามลำดับ ฮาโลวีนกลายเป็นเพียงพิธีการ การแต่งตัวเป็นผี แม่มด สัตว์ประหลาดตามแต่จะสร้างสรรค์กันไป ประเพณีฮาโลวีนเดินทางมาถึงอเมริกาในทศวรรษที่ 1840 โดยชาวไอริชที่อพยพมายังอเมริกา สำหรับประเพณี ทริกออร์ทรีต (Trick or Treat แปลว่า หลอกหรือเลี้ยง) นั้น เริ่มขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยชาวยุโรป ซึ่งถือว่า วันที่ 2 พ.ย. เป็นวัน 'All Souls' พวกเขาจะเดินร้องขอ 'ขนมสำหรับวิญญาณ' (soul cake) จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยเชื่อว่า ยิ่งให้ขนมเค้กมากเท่าไร วิญญาณของญาติผู้บริจาคก็ได้รับผลบุญ ทำให้มีโอกาสขึ้นสวรรค์ได้มากเท่านั้น
การเล่น trick or treat ตามบ้านคนส่วนตำนานที่เกี่ยวกับฟักทองนั้น เป็นตำนานพื้นบ้านของชาวไอริช ที่กล่าวถึง แจ๊คจอมตืด ซึ่งเป็นนักเล่นกลจอมขี้เมา วันหนึ่งเขาหลอกล่อปีศาจขึ้นไปบนต้นไม้ และเขียนกากบาทไว้ที่โคนต้นไม้ ทำให้ปีศาจลงมาไม่ได้ จากนั้นเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจ 'ห้ามนำสิ่งไม่ดีมาหลอกล่อเขาอีก' แล้วเขาจะปล่อยปีศาจลงจากต้นไม้ เมื่อแจ็คตายลง เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์ ขณะเดียวกันปฏิเสธที่จะลงนรก ปีศาจจึงให้ถ่านที่กำลังคุแก่เขา เพื่อเอาไว้ปัดเป่าความหนาวเย็นท่ามกลางความมืดมิด และแจ็คได้นำถ่านนี้ใส่ไว้ในหัวผักกาดเทอนิพที่ถูกเจาะให้กลวง เพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงได้นานขึ้น ชาวไอริชจึงแกะสลักหัวผักกาดเทอนิพ และใส่ไฟในด้านใน อันเป็นอีกสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน เพื่อระลึกถึง 'การหยุดยั้งความชั่ว' Trick or Treat เพื่อส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ และพิธีทางศาสนาเพื่อทำบุญวันปีใหม่ แต่เมื่อมีการฉลองฮาโลวีนในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกาพบว่า ฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงเปลี่ยนมาใช้ฟักทองแทน หัวผักกาดจึงกลายเป็นฟักทองด้วยเหตุผลฉะนี้
การเล่น trick or treat ตามบ้านคนส่วนตำนานที่เกี่ยวกับฟักทองนั้น เป็นตำนานพื้นบ้านของชาวไอริช ที่กล่าวถึง แจ๊คจอมตืด ซึ่งเป็นนักเล่นกลจอมขี้เมา วันหนึ่งเขาหลอกล่อปีศาจขึ้นไปบนต้นไม้ และเขียนกากบาทไว้ที่โคนต้นไม้ ทำให้ปีศาจลงมาไม่ได้ จากนั้นเขาได้ทำข้อตกลงกับปีศาจ 'ห้ามนำสิ่งไม่ดีมาหลอกล่อเขาอีก' แล้วเขาจะปล่อยปีศาจลงจากต้นไม้ เมื่อแจ็คตายลง เขาปฏิเสธที่จะขึ้นสวรรค์ ขณะเดียวกันปฏิเสธที่จะลงนรก ปีศาจจึงให้ถ่านที่กำลังคุแก่เขา เพื่อเอาไว้ปัดเป่าความหนาวเย็นท่ามกลางความมืดมิด และแจ็คได้นำถ่านนี้ใส่ไว้ในหัวผักกาดเทอนิพที่ถูกเจาะให้กลวง เพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงได้นานขึ้น ชาวไอริชจึงแกะสลักหัวผักกาดเทอนิพ และใส่ไฟในด้านใน อันเป็นอีกสัญลักษณ์ของวันฮาโลวีน เพื่อระลึกถึง 'การหยุดยั้งความชั่ว' Trick or Treat เพื่อส่งผลบุญให้กับญาติผู้ล่วงลับ และพิธีทางศาสนาเพื่อทำบุญวันปีใหม่ แต่เมื่อมีการฉลองฮาโลวีนในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกาพบว่า ฟักทองหาง่ายกว่าหัวผักกาดมาก จึงเปลี่ยนมาใช้ฟักทองแทน หัวผักกาดจึงกลายเป็นฟักทองด้วยเหตุผลฉะนี้
ประเพณีทริกออร์ทรีต ในสหรัฐอเมริกาคือการละเล่นอย่างหนึ่งที่เด็กๆ เฝ้ารอคอย ในวันฮาโลวีนตามบ้านเรือนจะตกแต่งด้วยโคมไฟฟักทองและตุ๊กตาหุ่นฟางที่เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลประเพณีเก็บเกี่ยว (Harvest) ในช่วงเดียวกันนั้น แต่ละบ้านจะเตรียมขนมหวานที่ทำเป็นรูปเม็ดข้าวโพดสีขาวเหลืองส้มในเม็ดเดียวกัน เรียกว่า Corn Candy และขนมอื่นๆไว้เตรียมคอยท่า ส่วนเด็กๆ ในละแวกบ้านก็จะแต่งตัวแฟนซีเป็นภูตผีมาเคาะตามประตูบ้าน โดยเน้นบ้านที่มีโคมไฟฟักทองประดับ (เพราะมีความหมายโดยนัยว่าต้อนรับพวกเขา) พร้อมกับถามว่า "Trick or treat?" เจ้าของบ้านมีสิทธิที่จะตอบ treat ด้วยการยอมแพ้ มอบขนมหวานให้ภูตผี(เด็ก)เหล่านั้น ราวกับว่าช่างน่ากลัวเหลือเกิน หรือเลือกตอบ trick เพื่อท้าทายให้ภูตผีเหล่านั้นอาละวาด ซึ่งก็อาจเป็นอะไรได้ ตั้งแต่แลบลิ้นปลิ้นตาหลอกหลอน ไปจนถึงขั้นทำลายข้าวของเล็กๆ น้อยๆ แล้วอาจจบลงด้วยการ treat เด็กๆ ด้วยขนมในที่สุด
ประเพณีทริกออร์ทรีต ในสหรัฐอเมริกาคือการละเล่นอย่างหนึ่งที่เด็กๆ เฝ้ารอคอย ในวันฮาโลวีนตามบ้านเรือนจะตกแต่งด้วยโคมไฟฟักทองและตุ๊กตาหุ่นฟางที่เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลประเพณีเก็บเกี่ยว (Harvest) ในช่วงเดียวกันนั้น แต่ละบ้านจะเตรียมขนมหวานที่ทำเป็นรูปเม็ดข้าวโพดสีขาวเหลืองส้มในเม็ดเดียวกัน เรียกว่า Corn Candy และขนมอื่นๆไว้เตรียมคอยท่า ส่วนเด็กๆ ในละแวกบ้านก็จะแต่งตัวแฟนซีเป็นภูตผีมาเคาะตามประตูบ้าน โดยเน้นบ้านที่มีโคมไฟฟักทองประดับ (เพราะมีความหมายโดยนัยว่าต้อนรับพวกเขา) พร้อมกับถามว่า "Trick or treat?" เจ้าของบ้านมีสิทธิที่จะตอบ treat ด้วยการยอมแพ้ มอบขนมหวานให้ภูตผี(เด็ก)เหล่านั้น ราวกับว่าช่างน่ากลัวเหลือเกิน หรือเลือกตอบ trick เพื่อท้าทายให้ภูตผีเหล่านั้นอาละวาด ซึ่งก็อาจเป็นอะไรได้ ตั้งแต่แลบลิ้นปลิ้นตาหลอกหลอน ไปจนถึงขั้นทำลายข้าวของเล็กๆ น้อยๆ แล้วอาจจบลงด้วยการ treat เด็กๆ ด้วยขนมในที่สุด

วันสงกรานต์








คุณค่าความสำคัญ



ประเพณีสงกรานต์ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณช่วงวันสงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคม และ ศาสนาดังนี้

คุณค่าต่อต่อครอบครัว

ทำให้สมาชิกของครอบครัวได้มีโอกาสมาอยู่ร่วมกันเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาเช่นช่วยกันทำความสะอาดบ้าน จัดบ้านใหม่ ช่วยกันทำขนมไว้ทำบุญและเลี้ยงลูกหลาน ขนมไทย สงกรานต์ กะละแม ลอกช่องน้ำกะทิ ฯลฯ จัดหาผ้าใหม่มอบให้คนรักนับถือ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ รวมทั้งแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ คุณค่าต่อชุมชนทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน เช่น ส่งขนม/ของกินให้แก่กันและกันร่วมกันทำบุญให้ทาน พบปะสังสรรค์ สนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน

คุณค่าต่อสังคม

ทำให้มีความเอื่ออาทรต่อบุคคลในสังคมและร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ที่สาธารณะ และอาคารสถานที่ต่าง ๆ คุณค่าต่อศาสนา ช่วยกันทำนุบำรุงพระศาสนา โดยการทำบุญตักบาตร เลื้ยงพระ การปฏิบัติ ธรรมฟังเทศน์ การสรงน้ำพระ

กิจกรรมที่ควรอนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติ

การเตรียมงาน

- การเตรียมเครื่องนุ่งห่ม เป็นการเตรียมเครื่องนุ่งห่มให้สะอาดเรียบร้อย หรือจะใช้ชุดใหม่ก็ได้ รวมทั้งการเตรียมผ้าสำหรับใช้ในการไหว้บิดา มารดา หรือ ญาติผู้ใหญ่คนรักนับถือ

- การทำความสะอาดบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยบริเวณต่าง ๆ ในชุมชนที่อยู่ เช่น วัดวาอารามที่จะใช้เป็นสถานที่สำหรับทำบุญหรือที่สาธารณะอื่น ๆ การจัดงาน

- การทำบุญตักบาตรตอนเช้า หรือนำอาหารไปเลี้ยงพระที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว

- การก่อเจดีย์ทราย โดยขนทรายเข้าวัด แล้วร่วมกันก่อเจดีย์ทรายเป็นรูปเจดีย์หริอรูปสัตว์ต่าง ๆปักธงหลากสี ธูปเทียนและดอกไม้เป็นเครื่องบูชาพระ

- การทำทาน โดยการปล่อยนก ปล่อยให้นกไปสู่อิสระ ไปป่าปล่อยปลาปล่อยแม่ปลาหรือปลาใหญ่รวมทั้งการฟังเทศน์ถือศีลปฏิบัติธรรม

- การสรงน้ำพระพุทธรูปในบ้านและที่วัด โดยใช้น้ำสะอาดหรือน้ำผสมน้ำอบไทยลอยด้วยดอกไม้สดเช่น ดอกมะลิ

- สรงน้ำพระภิกษุสามเณรด้วยน้ำสะอาด แล้วถวายผ้าสบงหรือผ้าไต

- การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ โดยใช้น้ำสะอาด หรือน้ำผสมน้ำอบไทยลอยด้วยดอกไม้สด เช่น ดอกมะลิ หรือตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ

- การเล่นรดน้ำ เชื่อมความสัมพันธ์กับญาติมิตรสหาย โดยใช้น้ำสะอาดและเล่นอย่างสุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะไม่ก่อความเดือดร้อนรำคาญ หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้อื่น

- การละเล่นรื่นเริงอื่น ๆ ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ

กิจกรรมที่เบี่ยงเบนไปและไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง

ปัจจุบันในช่วงประเพณีสงกรานต์ มีกิจกรรมบางอย่างที่มีการปฏิบัติในลักษณะที่เบี่ยงเบนไปในทางที่ไม่เหมาะสม และส่งผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมประเพณีหรือส่งผลกระทบต่อความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินซึ่งควรจะมีการป้องกันและแก้ไขกิจกรรมที่เบี่ยงเบนดังกล่าว ได้แก่ กิจกรรมที่เบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมประเพณี กิจกรรมเบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (กิจกรรมที่ห้ามกระทำโดยเด็ดขาด)

กิจกรรมที่เบี่ยงเบนและมีผลกระทบต่อขนมธรรมเนียมประเพณี

๑. การสาดน้ำ ได้แก่ การเล่นสาดน้ำอย่างรุนแรง เช่น ใช้ปืนฉีดน้ำชนิดอัดแรงลม การใช้น้ำสกปรก หรือ ของเหลวที่เน่าเหม็น การขว้งปาถุงน้ำแข็ง

๒. การประแป้ง หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะส่อไปในทางกระทำอนาจาร เช่นใช้มือลูบคลำ ใบหน้า หน้าอก หรือสะโพกของสุภาพสตรี

๓. การประกวดเทพีสงกรานต์ หรือประกวดในลักษณะอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสม เช่น แต่งกายด้วยชุดว่ายน้ำประกวดเทพีสงกรานต์ประเภท๒ เป็นต้น

มาตรการการป้องกันและแก้ไข

๑. การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณค่า และสาระสำคัญของประเพณี และรูปแบบกิจกรรมการปฏิบัติที่เหมาะสมตามประเพณี

๒. การส่งเสริมการเรียนรู้ประเพณีท้องถิ่นทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน รวมทั้งการศึกษาตามอัธยาศัย

๓. การใช้มาตรการทางกฏหมายอย่างเคร่งครัดแก่ผู้กระทำผิด

กิจกรรมที่ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง

๑. การดื่มสุราจนมีอาการมึนเมาไม่สามารถครองสติได้
๒. ประแป้งที่บริเวณใบหน้าของสุภาพสตรีและบริเวณลำตัว
มาตรการการป้องกันและแก้ไข

หากผู้ดื่มสุรามึนเมาและกระทำการก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น จะถูกดำเนินการดังนี้

๑.๑ หากผู้ดื่มสุราแล้วเกิดอาการมึนเมาก่อความเดือดร้อนรำคาญให้แก่ผู้อื่น จะถูกดำเนินคดีในข้อกล่าวหาเสพสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นจนเป็นเหตุตนมึนเมาประพฤติวุ่นวายหรือครองสติไม่ได้ขณะอยู่ในถนนสาธารณะหรือ สาธารณสถาน เป็นความผิดตามประมวลกฏหมาย อาญามาตรา๓๗๘ มีโทษปรับไม่เกิน๕๐๐ บาท

๑.๒หากเป็นกรณีขับรถในขณะมึนเมา เมื่อมีการตรวจสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดพบว่าเกิน กำหนดแล้ว จะถูกดำเนินคดีทันทีตามข้อกล่าวหา ขับรถในขณะมึนเมาสุรา เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๓(๑)(๒),๑๔๒ กฏกระทรวง ฉบับที่๑๖ (พ.ศ.๒๕๓๗) ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา๑๕๔ มีโทษจำคุกไม่เกิน๓ เดือนหรือปรับตั้งแต่ ๒,๐๐๐ - ๑,๐๐๐ บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

๒.๑ หากการกระทำดังกล่าวเกินเลยถึงขึ้นทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ผู้กระทำความผิดจะถูก ดำเนินคดีในข้อกล่าวหากระทำอนาจารบุคคลอื่น ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา ๒๗๘ มีโทษจำคุกไม่เกิน ๑๐ ปี หรือ ปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

๒.๒ หากการกระทำดังกล่าวเกินเลยจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำจะมีความผิดตามมาตรา ๒๘๐ (๒) ต้องระวางโทษถึงประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต

แนวทางการดำเนินงานและหน่วยงานที่รับผิดชอบ

แนวทางการดำเนินงาน

- การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณค่าและความสำคัญของประเพณี สงกรานต์โดยการดำเนินงานในหลากหลายรูปแบบและครอบคลุมอย่างกว้างขวางทั่วถึง ได้แก่

๑. การให้ความรู้ความเข้าใจทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน

๒. การใช้สื่อทุกประเภทร่วมรณรงค์ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์

๓. การส่งเสริมการเรียนรู้ประเพณีท้องถิ่นโดยกำหนดไว้ในหลักสูตร
การเรียนการสอน

- จัดให้มีการสาธิตรูปแบบของกิจกรรมการปฏิบัติที่เหมาะสมตามประเพณี เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างอย่างน้อยจังหวัดละ ๑ แห่งแล้วเผยแพร่อย่างกว้างขวาง

- การกำหนดเขตอนุญาตให้มีการเล่นสงกรานต์บางอย่าง เช่น การเล่นสาดน้ำ

- การดำเนินงานตามมาตรการทางกฏหมายอย่างเคร่งครัด

- ราชการส่วนท้องถิ่น ออกข้อปฏิบัติข้อห้ามของ อบต. ของตนเองแล้วจับปรับเองนำเงินเข้าส่วนท้องถิ่น


วันมาฆบูชา




วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 หรือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ หากเป็นปีอธิกมาส (ปีที่มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 หรือประมาณเดือนมีนาคม
มาฆบูชา ย่อมาจากคำว่า มาฆปุรณมีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน3 ถือว่าเป็นวันจาตุรงคสันนิบาต แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ 4 ซึ่งเป็นเหตุการณที่เกิดขึ้นพร้อมกันในสมัยพุทธกาล คือ

1. พระสงฆ์จำนวน 1250 ซึ่งไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่างๆ ได้เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า

2. พระสงเหล่านี้ล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น แลได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง การบวชชนิดนนี้เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา

3. พระสงฆ์จำนวน 1250 ได้เดินทางมาประชุมพร้อมกันโดยมได้นัดหมาย

4. วันที่มาประชุมกันตรงกับวันเพ็ญเดือน มาฆะ (วันเพ็ญเดือน3) ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาติโมกข์ ซึ่งประกอบด้วย 3 ประการได้แก่ 1. ละเว้นความชั่วทั้งปวง 2. ทำความดีให้ถึงพร้อม 3. ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส

ประวัติในการประกอบพีธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

การมีประเพณีมาฆบูชานี้ แต่เดิมไม่เคยทำมา พึ่งเกืดขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่หัว ทรงตามแบบโบราณบัณฑิตนิยมไว้ว่า วันมาฆบุรมีพระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆเต็มบริบูรณ์ เป็นวันที่พระอรหันต์จำนวน 1250 รูปได้มาประชุมพร้อมกันด้วยองค์สี่ประการ เรียกว่าจาตุรงคสันนิบาต พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์ เป็นการประชุมใหญ่และอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา จึงได้ถือเอาเหตุนั้นกอบการสักการะบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ 1250 รูปนั้น ให้เป็มที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสสังเวช

การประกอบพิธีเวียนเทียนในวันมาฆบูชา

ประชาชนจะจัดเตรียมเครื่องสัการะ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน ไปพร้อมกันที่วัดในเวลาเย็นหรือค่ำ เพื่อประกอบพิธีมาฆบูชา การประกอบพิธีกรรมจะทำที่โบสถ์ เพราะหลังจากฟังโอวาทและสวดมนต์เสร็จแล็ว จะทำการเวียนเทียนรอบโบสถ์ ในการเดินเวียนเทียนรรอบโบสถ์ จะกระทำ3รอบ โดยเวียนไปทางขวาเรียกว่า เวียนแบบทักขิณาวัฏ ในขณะเดินเวียนเทียน ต้องทำจิตใจให้มีสมาธิ สงบและแน่วแน่อยู่กับบทบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณและพระสังฆคุณ ไม่ควรส่งเสียงพูดคุยเสียงดังหรือเดินแซงผู้ที่เดินนำอยู่ข้างหน้า


วันปีใหม่






ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

วันตรุษจีน





ตรุษจีน เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ทุกคนต่างให้ความสำคัญอย่างยิ่งมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน ตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป
ประวัติของวันขึ้นปีใหม่ของจีนมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในวัฒนธรรมอื่นๆ ความปรารถนาสิ่งที่เราหวังว่าจะได้ปรับปรุง หรือที่เราคิดทำเมื่อเริ่มต้นในปีใหม่ มาถึงตอนนี้ ถ้าไม่ถูกลืมก็ถูกยัดลงกล่องใส่ตู้ปิดตายและแปะหน้าตู้ว่าไม่แน่ เอาไว้ทำปีหน้าแล้วกันอย่างไรก็ดี ความหวังก็คงยังไม่สูญไปทั้งหมดเพราะโอกาสที่สองกำลังมาถึงแล้ว กับการฉลองวันปีใหม่จีนหรือที่เรารู้จักกันว่า ตรุษจีนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ นั้นเอง
ตรุษจีนนั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลองตรุษจีน นั้นมีมานานกว่าศตวรรษ จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วัน
การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูก ทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่างหน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูก ประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืนเป็นต้น
ทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร และเป็นธรรมดาเสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง
เมื่อถึงวันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดง เป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่มจากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป)
ในวันตรุษนี้ อารมณ์โมโหโกรธาจะถูกลืม และไม่สนใจ การฉลองวันตรุษจีนสิ้นสุดลงในงานโคมไฟ ซึ่งฉลองโดยการร้องเพลง เต้นรำ และงานแสดงโคมไฟ ถึงแม้ว่าการฉลองวันตรุษจีน จะมีแตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การอวยพร ความสงบ และความสุขให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนทุกคน

วันเด็ก





เด็กนับเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง ดังนั้น เด็กจึงควรที่จะเตรียมตัวที่จะเป็นกำลังของชาติด้วย หากเด็กทุกคนได้ตระหนักถึงอนาคตของตนและของประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นการขยันหมั่นศึกษาหาความรู้ และใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัย มีความขยันขันแข็ง ตลอดจนมีความเมตตากรุณา ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อผู้อื่น เสียสละเพื่อส่วนรวมดังนี้แล้ว ก็จะได้ขึ้นชื่อว่าเป็น "เด็กดี" ชาติบ้านเมืองก็จะเจริญมีความผาสุกร่มเย็นต่อไป

วันจักรี




วันจักรี หมายถึง วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ปฐมบรมราชวงศ์จักรี เสด็จกรีฑาทัพถึงพระมหานครทรงรับอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ดำรงราชอาณาจักรสยามประเทศ
ประวัติความเป็นมาของวันจักรี
ประวัติการตั้งชื่อวันจักรีมีว่า เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เป็นกษัตริย์แห่ง
ราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทย มาจนทุกวันนี้
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้หล่อพระบรมรูป พระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ พระองค์ ( ร.๑ - ๔ ) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่นพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยปราสาทเป็นต้น

ในรัชกาลที่ ๖ โปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง ๔ ( ร.๑ - ๔ ) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ ๕ พระชนกนาถ พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้ซ่อมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานนามดังกล่าว การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง ๕ รัชกาล สำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ จึงได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ ๖ เมษายนปีนั้น และต่อมา โปรด ฯ ให้เรียกวันที่ ๖ เมษายนว่า “วันจักรี”


วันครู


ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้

การจัดงานวันครู
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. กิจกรรมทางศาสนา
2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์

มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู
1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้
4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน
8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา
10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน

คำปฏิญาณตนของครู
ข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น

บทสวดเคารพครูอาจารย์
คาถา ปาเจราจริยา โหนฺติ คุณุตฺตรานุสาสกา (วสันตดิลกฉันท์)
(สวดนำ) ปาเจราจริยา โหนติ
(รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา
ปญญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ
ข้าขอประณตน้อมสักการ บุรพคณาจารย์
ผู้ก่อประโยชน์ศึกษา
ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา
แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์
ด้วยใจนิยมบูชา
ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา
ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน
อยู่ในศีลธรรมอันดี
ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี
แก่ชาติและประเทศไทย เทอญฯ
ข้าขอประนมกระพุ่ม
อภิวาทนาการ
กราบคุณอดุลคุรุประทาน
หิตเทิดทวีสรร
สิ่งสมอุดมคติประพฤติ
นรยึดประครองธรรม์
ครูชี้วิถีทุษอนันต์
อนุสาสน์ประภาษสอน
ให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน
นะตระการสถาพร
ท่านแจ้งแสดงนิติบวร
ดนุยลยุบลสาร
โอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร
ทะนุศิษย์นิรันดร์กาล
ไปเปื่อก็เพื่อดรุณชาญ
ลุฉลาดประสาทสรรพ์
บาปบุญก็สุนทรแถลง
ธุระแจงประจักษ์ครัน
เพื่อศิษย์สฤษฎ์คตจรัล
มนเทิดผดุงธรรม
ปวงข้าประดานิกรศิษ
(ษ) ยะคิดระลึกคำ
ด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ
อนุสรณ์เผดียงคุณ
โปรดอวยพรสุพิธพรอเนก
อดิเรกเพราะแรงบุญ
ส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน-
ทรศิษย์เสมอเทอญฯ






วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

วันสำคัญของไทย




สวัสดีครับ ผมชื่อ ศุภโชค วรรณโยชน์ จัดทำเว็บบร็อกนี้ขึ้นเพื่อแสดงเกี่ยวกับวันสำคัญต่างๆของไทยเพื่อ


แสดงถึงเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยอันดีงามของไทยเราที่มีมายาวนานนับ100กว่าปี

สุดหล่อ สุดสวย มาดูนี่ก่อน